PAYMENT GATEWAY เลือกเจ้าไหนดี
โพสเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2022
โพสเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2022
แม่ค้าออนไลน์รู้ไหมว่า ระบบชำระเงินออนไลน์ หรือ “Payment Gateway” มีความสำคัญกับธุรกิจร้านค้าออนไลน์ของเราอย่างมาก เพราะมันจะช่วยทำให้ลูกค้าของเราซื้อสินค้าและชำระเงินได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย รวมถึงช่วยทำให้ร้านค้าออนไลน์ของเราเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
Payment Gateway (เพย์เมนท์เกตเวย์) คือ ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต เช่น VISA, Mastercard, UnionPay, JCB และอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยผ่านบริการได้ง่ายขึ้น
เพราะช่องทางการชำระเงิน เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของร้านค้าออนไลน์ ถ้าร้านค้าของเรามีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ตรงกับความต้องการของลูกค้า ก็จะเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น นอกจากนี้ Payment Gateway ยังทำร้านค้าออนไลน์ของเรา สามารถรับชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต - เดบิตได้อีกด้วย ซึ่งมันจะยิ่งช่วยให้ลูกค้าของเราตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่าเดิม แถมร้านค้ายังดูมีความน่าเชื่อถือขึ้นมาอีกหนึ่งสเต็ป และกว่า 40% ของลูกค้าที่ช้อปปิ้งออนไลน์ เขาจะเลือกซื้อสินค้ากับร้านค้าออนไลน์ที่มีบริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตด้วยห
ระบบชำระเงินออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรง จะช่วยให้ธุรกิจและเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น มีความปลอดภัย แต่มีเงื่อนไขต้องมีเงินฝากค้ำประกัน โดยขั้นต่ำจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 – 200,000 บาท โดยที่ Payment Gateway Bank เชื่อมต่อกับธนาคารในประเทศไทยโดยตรง เช่น
ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ที่ไม่ใช่รูปแบบธนาคาร เช่น
ทั้ง 2 ระบบนั้นมีหน้าที่ต่างกันและรูปแบบการทำธุรกรรมต่างจุดประสงค์กัน
คือ ระบบรับการชำระเงินออนไลน์ของร้านค้า บริษัท ที่ใช้ API ในการเชื่อมต่อกับธนาคารในประเทศไทยโดยตรง เพื่อรับเงินจากลูกค้า ดังนั้นคนที่จะเปิดใช้งาน Payment Gateway ได้ก็ต้องเป็นคนที่อยากตัดเงินจากบัตรของเราผ่านเว็บไซต์ E-Commerce , Mobile Application
คือ “วอลเล็ท (Wallet)” กระเป๋าเงินออนไลน์ เป็นการให้บริการในรูปแบบกระเป๋าเงินออนไลน์ที่เราต้องเติมเงินจากบัญชีธนาคารเอาเงินเข้าไปพักไว้ เพื่อที่จะเอาไปเติมเงินในเกมส์ จ่ายค่าเน็ต ค่ามือถือ ค่าขนม จ่ายสินค้า บริการต่างๆ ดังนั้นในเมื่อมันเป็น “กระเป๋าเงินออนไลน์” เราก็สามารถเลือกกระเป๋าที่จะถือได้ (ผู้ให้บริการ) เช่น
จริงๆมันคือ “กระเป๋าเงินออนไลน์” เหมือนกันกับ e-Wallet นั่นแหละแค่ภาครัฐเขาเอา G-Wallet ที่เป็นของ ธ.กรุงไทย ไปตั้งชื่อให้มันแตกต่างออกไป เพื่อที่จะนำ แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (Paotang) ไปใช้กับโครงการเยียวยาต่างๆ ของภาครัฐ เช่น
ระบบรับชำระเงินออนไลน์ของ Paypal เป็นที่นิยมของธุรกิจทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน หรือผู้ซื้อสินค้าด้วย PayPal กว่า 200 ล้านคนทั่วโลก รองรับได้กว่า 25 สกุลเงิน สามารถแปลงสกุลเงินได้อัตโนมัติ รองรับการชำระจากบัตรเครดิต และเดบิต PayPal, Visa, Mastercard, AMEX, Discover และ UnionPay
อีกทั้งลูกค้าของคุณสามารถชำระเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชี PayPal อีกด้วย
ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 4.4% + $0.3USD และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอื่นๆ
เว็บไซต์ : paypal.com
ระบบรับชำระเงินออนไลน์มีฟังก์ชั่นหลากหลายตอบโจทย์ธุรกิจ หากเป็นธุรกิจ SME จะคิดค่าธรรมเนียม 3.65% และถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มียอดขาย หรือยอดเฉลี่ยต่อรายการสูง Omise จะคิดค่าบริการให้เป็นพิเศษ ไม่มีค่าบริการอื่นๆ ไม่มีกำหนดยอดขั้นต่ำ
นอกจากนี้ Omise ยังมีฟีเจอร์ Recipient ที่ทำสามารถโอนเงินได้หลายบัญชี เป็นการโอนเงินออกจากบัญชี Omise ไปยังธนาคาร เหมาะกับธุรกิจที่มีร้านค้ารายย่อยให้เราสามารถจัดการเงินได้สะดวกยิ่งขึ้น
ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3.65%
หากต้องการโอนเงินจาก Omise เพื่อเข้าธนาคารจะมีการคิดค่าธรรมเนียมการโอน
30 บาท สำหรับรายการโอนที่ไม่ถึง 2 ล้านบาท
150 บาท สำหรับรายการโอนที่มากกว่า 2 ล้านบาท
เว็บไซต์ : omise.co
ระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่มีค่าธรรมเนียมถูกที่สุด หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อนี้กัน แต่รู้หรือไม่ว่า 2C2P ถือได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ ที่ให้บริการประเทศไทย บริษัทใหญ่ๆ เกือบทั้งหมดในไทยล้วนใช้บริการของ 2C2P รวมถึง Facebook เองก็เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ 2C2P ด้วยเช่นกัน
รองรับการชำระด้วยบัตรเครดิต และเดบิต Visa, MasterCard, American Express, Discover, Diners Club, JCB, และ UnionPay
ค่าธรรมเนียมของ 2C2P จะอยู่ที่ 2.75%
เว็บไซต์ : 2c2p.com
ระบบรับชำระเงินออนไลน์สายเลือดไทย ที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล รองรับสกุลเงินต่างประเทศได้มากกว่า 30 สกุลเงิน มีระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เพื่อนำไปใช้วางแผนการตลาด และพัฒนาต่อยอดธุรกิจ
ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 3% แตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ
เมื่อชำระไม่เกิน 50,000 บาท เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
หากมีการชำระเงินมากว่า 50,000 บาท จะฟรีค่าธรรมเนียม (เฉพาะการชำระด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น)
เว็บไซต์ : gbprimepay.com
ระบบให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) เป็นตัวแทนในการรับชำระค่าสินค้าและบริการให้กับลูกค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยรองรับช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย อาทิ Internet Banking, Application & Mobile Banking, Credit Card, Rabbit Line Pay, Kiosk Machine, e-wallet
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเงิน โดยสามารถรับเงินได้ภายใน 1 วันทำการหลังจากมีการชำระค่าสินค้าและบริการ ช่วยให้ธุรกิจคุณสามารถบริหารเงินหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น
ค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง 3.25%
เว็บไซต์ : chillpay.co
ระบบชำระเงินออนไลน์ที่หลายธุรกิจเลือก ระบบชำระเงินมีความเสถียร ไม่ค่อยมีปัญหา รวมทั้งมีระบบความปลอดภัย SSL (Secure Sockets Layer) ที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้ร้านค้าออนไลน์มั่นใจในการใช้บริการ
ค่าธรรมเนียมของ Pay Solution อยู่ที่ 3.60%
เว็บไซต์ : paysolutions.asia